วันพืชมงคล 9 พฤศภาคม 2568

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2568 ถือเป็นพระราชพิธีซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริมบำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก โดยกำหนดจัดขึ้นในราวเดือน 6 ของทุกปี หรือเดือน พ.ค.ที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณี ให้จัดขึ้นในเวลานั้นอันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี 2568 ประกอบด้วย 2 พิธีสำคัญ คือ พระราชพิธีพืชมงคล (พิธีทางสงฆ์) จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และถือเป็น “วันเกษตรกร” ด้วยวันถัดมา พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) เป็นพิธีพราหมณ์ จัดในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

ปีนี้ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา คือ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ น.ส.ธิรดา วงษ์กุดเลาะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร และ น.ส.วราภรณ์ วิลัยมาตย์ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน กรมวิชาการเกษตร 

ส่วน “เทพีคู่หาบเงิน” ได้แก่ น.ส.ฉันทิสา อารีเสวต นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และ น.ส.อภิชญา ฟูแสง นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

ผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย คู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จำนวน 16 ราย และพระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ และพระโคเพียง พระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเพิ่ม และพระโคพูล

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันที่ 9 พ.ค.68

  • เวลา 07.19 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาแรกนาขึ้นรถยนต์หลวงที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามออกจากพระบรมมหาราชวัง ไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง แล้วเดินขบวนอิสริยายศแห่ไปส่งที่โรงพิธีพราหมณ์ จุดธูปเทียนถวายสักการะเทวรูปสำคัญแล้ว พระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกายไว้พร้อม
  • เวลา 08.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพลับพลาที่ประทับ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
  • ฤกษ์พิธีไถหว่าน ระหว่างเวลา 08.09 – 09.09 น.
  • จากนั้น พระยาแรกนา จะได้ยาตราพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิตและพราหมณ์ นำผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง
  • พระยาแรกนาเข้าเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาทถวายบังคมแล้วไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโค เทียมแอก พระยาแรกนาเจิม พระโคและคันไถ จับหางไถแล้วไถดะ ไปโดยทักษิณาวรรต 3 รอบ ไถแปร 3 รอบ พร้อมหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
  • พนักงานประโคมฆ้องชัย เครื่องดุริยางค์ แล้วไถกลบอีก 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในดิน เสร็จแล้วพนักงานปลดพระโคออกจากแอก พระยาแรกนาและเทพี กลับไปยังโรงพิธีพราหมณ์ พราหมณ์เสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ตั้งเลี้ยงพระโค เมื่อพระโคกินของสิ่งใด โหรหลวงจะได้ถวายคำพยากรณ์
  • เสร็จแล้วจะได้เบิกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตัวแทนสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตัวแทนสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดินสาขาต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณ
  • หลังจากนั้นจะได้แห่พระยาแรกนาเป็นกระบวนอิสริยยศออกจาก โรงพิธีพราหมณ์ พระยาแรกนากราบถวายบังคม แล้วเข้ากระบวนไปขึ้นรถยนต์หลวงพร้อมด้วยเทพี ไปรอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่แปลงนาทดลอง ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ออกจากพลับพลาพิธี ไปยังแปลงนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระยาแรกนาเข้ากราบถวายบังคม พระยาแรกนาและเทพีนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปหว่านในแปลงนาทดลองโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อปลูกไว้ใช้ในพระราชพิธี ฯ ในปีต่อไป 
  • เมื่อพระยาแรกนาหว่านข้าวเสร็จแล้ว เข้าไปกราบถวายบังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นอันเสร็จพระราชพิธี

7 พันธุ์ข้าว ในพระราชพิธีพืชมงคล 2568

ในปี 2568 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำ “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” ในแปลงนาทดลอง สวนจิตรลดา และแปลงนาขยายผลฤดูทำนาปี 2567 ซึ่งเป็นผลผลิตข้าวเปลือกจากข้าวนาสวนพันธุ์หลัก 7 พันธุ์ ดังนี้ 

พันธุ์ข้าวนาสวน จำนวน 5 พันธุ์

  • ขาวดอกมะลิ 105
  • กข 79
  • กข 85
  • กข 99 (หอมคลองหลวง 72)
  • กขจ 1 (วังทอง 72)

พันธุ์ข้าวเหนียว จำนวน 2 พันธุ์

  • กข 6
  • กข 24 (สกลนคร 72
ข้าว 7 พันธุ์ ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2568

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2568 ถือเป็นพระราชพิธีซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริมบำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก โดยกำหนดจัดขึ้นในราวเดือน 6 ของทุกปี หรือเดือน พ.ค.ที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณี ให้จัดขึ้นในเวลานั้นอันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี 2568 ประกอบด้วย 2 พิธีสำคัญ คือ พระราชพิธีพืชมงคล (พิธีทางสงฆ์) จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และถือเป็น “วันเกษตรกร” ด้วยวันถัดมา พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) เป็นพิธีพราหมณ์ จัดในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปีนี้ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา คือ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ น.ส.ธิรดา วงษ์กุดเลาะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร และ น.ส.วราภรณ์ วิลัยมาตย์ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน กรมวิชาการเกษตร 

ส่วน “เทพีคู่หาบเงิน” ได้แก่ น.ส.ฉันทิสา อารีเสวต นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และ น.ส.อภิชญา ฟูแสง นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย คู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จำนวน 16 ราย และพระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ และพระโคเพียง พระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเพิ่ม และพระโคพูล

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันที่ 9 พ.ค.68

  • เวลา 07.19 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาแรกนาขึ้นรถยนต์หลวงที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามออกจากพระบรมมหาราชวัง ไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง แล้วเดินขบวนอิสริยายศแห่ไปส่งที่โรงพิธีพราหมณ์ จุดธูปเทียนถวายสักการะเทวรูปสำคัญแล้ว พระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกายไว้พร้อม
  • เวลา 08.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพลับพลาที่ประทับ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
  • ฤกษ์พิธีไถหว่าน ระหว่างเวลา 08.09 – 09.09 น.

ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  • จากนั้น พระยาแรกนา จะได้ยาตราพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิตและพราหมณ์ นำผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง
  • พระยาแรกนาเข้าเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาทถวายบังคมแล้วไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโค เทียมแอก พระยาแรกนาเจิม พระโคและคันไถ จับหางไถแล้วไถดะ ไปโดยทักษิณาวรรต 3 รอบ ไถแปร 3 รอบ พร้อมหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
  • พนักงานประโคมฆ้องชัย เครื่องดุริยางค์ แล้วไถกลบอีก 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในดิน เสร็จแล้วพนักงานปลดพระโคออกจากแอก พระยาแรกนาและเทพี กลับไปยังโรงพิธีพราหมณ์ พราหมณ์เสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ตั้งเลี้ยงพระโค เมื่อพระโคกินของสิ่งใด โหรหลวงจะได้ถวายคำพยากรณ์
  • เสร็จแล้วจะได้เบิกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตัวแทนสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตัวแทนสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดินสาขาต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณ
  • หลังจากนั้นจะได้แห่พระยาแรกนาเป็นกระบวนอิสริยยศออกจาก โรงพิธีพราหมณ์ พระยาแรกนากราบถวายบังคม แล้วเข้ากระบวนไปขึ้นรถยนต์หลวงพร้อมด้วยเทพี ไปรอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่แปลงนาทดลอง ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ออกจากพลับพลาพิธี ไปยังแปลงนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระยาแรกนาเข้ากราบถวายบังคม พระยาแรกนาและเทพีนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปหว่านในแปลงนาทดลองโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อปลูกไว้ใช้ในพระราชพิธี ฯ ในปีต่อไป 
  • เมื่อพระยาแรกนาหว่านข้าวเสร็จแล้ว เข้าไปกราบถวายบังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นอันเสร็จพระราชพิธี

7 พันธุ์ข้าว ในพระราชพิธีพืชมงคล 2568

ในปี 2568 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำ “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” ในแปลงนาทดลอง สวนจิตรลดา และแปลงนาขยายผลฤดูทำนาปี 2567 ซึ่งเป็นผลผลิตข้าวเปลือกจากข้าวนาสวนพันธุ์หลัก 7 พันธุ์ ดังนี้ 

พันธุ์ข้าวนาสวน จำนวน 5 พันธุ์

  • ขาวดอกมะลิ 105
  • กข 79
  • กข 85
  • กข 99 (หอมคลองหลวง 72)
  • กขจ 1 (วังทอง 72)

พันธุ์ข้าวเหนียว จำนวน 2 พันธุ์

  • กข 6
  • กข 24 (สกลนคร 72)

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2024

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2024

สำหรับรายละเอียดพันธุ์ข้าวที่นำเข้าในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2568 และบรรจุซองแจกจ่ายประชาชน ดังนี้

  • ขาวดอกมะลิ 105 – จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 1,030 
  • กข79 – จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 420 
  • กข85 – จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 200 
  • กข99 – (หอมคลองหลวง 72) จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 300
  • กข6 จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 440 
  • กข24 (สกลนคร 72) จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 200

เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่นำเข้าในพระราชพิธีมีน้ำหนักรวมทั้งสิ้น 4,880 กิโลกรัม และจัดเป็น “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” บรรจุในซองพลาสติกแจกจ่ายให้บรรดาพสกนิกร ประชาชนผู้สนใจ และชาวนาทั่วประเทศรับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพการเกษตรตามประเพณีนิยม เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์สืบไป

รู้จัก 7 พันธุ์ข้าว ในพระราชพิธีพืชมงคล 2568

1. พันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105 

ประวัติพันธุ์ ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจาก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ. 2493 – 2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไป คัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูกเปรียบเทียบ พันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรงแล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่น ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105

ลักษณะเด่น ขาวดอกมะลิ 105 

  • ทนแล้งได้ดีพอสมควร
  • เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี
  • คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม
  • ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม

2. พันธุ์ข้าว กข 79

ประวัติพันธุ์ กข79 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง PSL00034-37-3-1-3 ต้านทานต่อโรคไหม้เป็น พันธุ์แม่ กับ PSBRc20 ต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพันธุ์พ่อ ในฤดูนาปรัง 2550 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทปลูกคัดเลือกแบบสืบตระกูลชั่วที่ 2 ถึง 6
ทั้งฤดูนาปรัง และฤดูนาปี ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2551 ถึง ฤดูนาปรัง 2553 ที่ศูนย์วิจัย
ข้าวชัยนาท จนได้สายพันธุ์ CNT07018-26-1-1-1 และปลูกศึกษาพันธุ์ในฤดูนาปี
2553 ฤดูนาปรัง 2554 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี

ฤดูนาปรัง 2555 -ฤดูนาปี 2560 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกชัยนาท ลพบุรี แพร่ เชียงใหม่ และเชียงราย วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมี รวมทั้งทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ

ลักษณะเด่น คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เป็นข้าวเจ้า เมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สามารถผลิตเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้

3. พันธุ์ข้าว กข 85

ประวัติพันธุ์ ได้จากการผสมพันธุ์3 ทางระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของ PSBRc10 กับ CNT96028-21-1-PSL-1-1 นำไปผสมกับ LPHR303-PSL-30-4-2

ลักษณะเด่น กข 85 ให้ผลผลิตสูงถึง 1,173 กิโลกรัมต่อไร่ ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้ดีกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 และ กข47 ทนทานต่อสภาพอากาศเย็นคุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สามารถผลิตข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้

4. พันธุ์ข้าว กข 99 (หอมคลองหลวง 72)

ประวัติพันธุ์ ข้าวสายพันธุ์ CCS12009-KLG-18-1-1-3-1 ข้าวหอม พื้นนุ่ม ไม่ไวต่อช่วงแสง ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างพันธุ์ IRB41 (พันธุ์แม่) กับพันธุ์ชัยนาท 1 (พันธุ์พ่อ) 

ลักษณะเด่น เป็นข้าวเจ้าหอมพื้นนุ่ม ไม่ไวต่อช่วงแสง ศักยภาพการให้ผลผลิต 957 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยให้ ผลผลิตเฉลี่ย 780 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 คิดเป็น
13 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปลูกในสภาพแปลง เกษตรกร, ข้าวสุกมีกลิ่นหอม เนื้อสัมผัสค่อนข้างเหนียวและนุ่ม, – คุณภาพการสีดีมาก สามารถผลิตเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้

5. พันธุ์ข้าว กขจ 1 (วังทอง 72)

ประวัติพันธุ์ CRI12026-6-9-PSL-4-1-1-1 ได้จากการผสมเดี่ยว ระหว่างสายพันธุ์ข้าว PSL95037-25-1-2-PAN-1 กับพันธุ์ Shubu

ลักษณะเด่น มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงถึง 953 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 755 กิโลกรัมต่อไร, ต้านทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าพันธุ์ พันธุ์ ก.วก.1 และ ก.วก.2, เป็นข้าวเจ้าจาปอนิกาที่มีคุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี ท้องไข่น้อยกว่าพันธุ์ก.วก. 1 และ ก.วก.2 คุณภาพการสีดีมาก คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี

6. พันธุ์ข้าว กข 6

ประวัติพันธุ์ ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสี
แกมมาปริมาณ 20 กิโลแรด (Rad) อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105
แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย
จากการคัดเลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือก
จนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105´65-G2U-68-254
นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืช
ให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังส

ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงและทนแล้งดีกว่าพันธุ์เหนียวสันป่าตอง, คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม, ลำต้นแข็งปานกลาง, ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล, คุณภาพการสีดี

7. พันธุ์ข้าว กข24 (สกลนคร 72)

ประวัติพันธุ์ ข้าวเหนียวสายพันธุ์ RGDU10017-1-MAS-49-4-1-NKI-1-3-1-2 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเหนียว สายพันธุ์ RGDU07585-7-MAS35-4 ซึ่งลำต้นเตี้ย เป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเหนียวสายพันธุ์ RGDU07123-12-22-5 ซึ่งลำต้นสูง คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีความต้านทานต่อโรคไหม้เป็นพันธุ์พ่อ

ลักษณะเด่น เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสงที่มีลำต้นเตี้ย ต้านทานการหักล้มดีกว่าพันธุ์ กข6 และ กข18, ต้านทานต่อโรคไหม้ในระยะกล้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2568 จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 โดยผู้ที่ประสงค์รับเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน สามารถลงทะเบียนออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ https://rice.moac.go.th/ หรือแสกนคิวอาร์โค้ด ได้ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2568

อ้างอิงข้อมูล : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

แชร์ข่าวสารนี้

ใส่ความเห็น